เมนู

อรรถกถาเจโตขีลสูตร


เจโตขีลสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ :-
ในเจโตขีลสูตรนั้น ความที่จิตเป็นชาติแข็งกระด้าง ความที่จิตเป็น
ดุจเกราะ ความที่จิตเป็นดุจตอไม้ ชื่อว่า เจโตขีลา. บทว่า เจตโส วินิ-
พนฺธา
ความว่า กิเลสเครื่องหน่วงเหนี่ยวจิต เพราะอรรถว่า ผูกพันจิตยึดไว้
เหมือนทำไว้ในกำมือ. ความเจริญด้วยศีล ความงอกงามด้วยมรรค ความไพบูลย์
ด้วยนิพพาน หรือความเจริญด้วยศีลและสมาธิ ความงอกงามด้วยวิปัสสนา-
มรรค ความไพบูลย์ด้วยผลและนิพพานในบทเป็นต้นว่า วุฑฺฒึ. บทว่า
สตฺถริ กงฺขติ ความว่า ภิกษุสงสัยในพระสรีระหรือพระคุณของพระศาสดา.
ภิกษุเมื่อสงสัยในพระสรีระ ก็ย่อมสงสัยว่า พระสรีระที่ประดับประดาด้วยพระ
ลักษณะอันประเสริฐ 32 ประการมีอยู่หนอแล หรือไม่มี. เมื่อสงสัยในพระคุณ
ก็ย่อมสงสัยว่า พระสัพพัญญุตญาณ ที่สามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน
มีอยู่หรือไม่หนอ. บทว่า วิจิกิจฺฉติ ความว่า เมื่อวิจัยย่อมเคลือบแคลงคือ
ย่อมถึงทุกข์ ย่อมไม่อาจวินิจฉัย. บทว่า นาธิมุจฺจติ ความว่า ย่อมไม่ได้
รับความน้อมไปว่า นั่นต้องเป็นอย่างนี้. บทว่า น สมฺปสีทติ ความว่า
ย่อมไม่อาจเพื่อหยั่งลงในพระคุณทั้งหลายแล้วเลื่อมใส โดยความเป็นผู้ปราศจาก
ความเคลือบแคลง คือ เพื่อเป็นผู้หมดความสงสัย. บทว่า อาตปฺปาย
ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การทำความเพียรเครื่องเผากิเลส. บทว่า อนุโยคาย
ความว่า เพื่อประกอบความเพียรบ่อย ๆ. บทว่า สาตจฺจาย ความว่า เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง. บทว่า ปธานาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การตั้งมั่น.
บทว่า อยํ ปฐโม เจโตขีโล ความว่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติแข็งกระด้าง ่

กล่าวคือ ความเคลือบแคลงในพระศาสดาข้อที่ 1 นี้ ย่อมเป็นอันภิกษุนั้นละยัง
ไม่ได้แล้ว ด้วยเหตุอย่างนี้. บทว่า ธมฺเม คือ ในปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม
และปฏิเวธธรรม. เมื่อสงสัยในปริยัติธรรม ย่อมสงสัยว่า บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวว่า พระพุทธพจน์ คือ ไตรปิฏกมี 84,000 พระธรรมขันธ์ นั่นมีอยู่
หนอแล หรือไม่มี. เมื่อสงสัยในปฏิเวธธรรม ย่อมสงสัยว่า บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวว่า ความไหลออกแห่งวิปัสสนา ชื่อว่า มรรค ความไหลออกแห่งมรรค
ชื่อว่า ผล การสลัดออกซึ่งสังขารทั้งปวง ชื่อว่า นิพพาน ดังนี้ นั้นมีอยู่
หรือไม่หนอแล. บทว่า สงฺเฆ กงฺขติ ความว่า ย่อมสงสัยว่า ชื่อว่า
พระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่แห่งบุคคล 8 คือ ผู้ตั้งอยู่ในมรรค 4 ผู้ตั้งอยู่ในผล 4 ผู้
ปฏิบัติปฏิปทา เห็นปานนี้ ด้วยอำนาจแห่งบททั้งหลายมีว่า ผู้ปฏิบัติดี เป็นต้น
มีอยู่หรือไม่หนอแล. เมื่อสงสัยในสิกขา ก็ย่อมสงสัยว่า บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวว่า ชื่ออธิสีลสิกขา ชื่ออธิจิตตสิกขา ชื่ออธิปัญญาสิกขา ดังนี้ สิกขา
นั้นมีอยู่หรือไม่หนอแล. บทว่า อยํ ปญฺจโม ความว่า ความที่จิตเป็นธรรม
ชาติแข็งกระด้าง เป็นดุจเกราะ เป็นดุจตอไม้ กล่าวคือ ความกำเริบในเพื่อน
สพรหมจารีนี้ เป็นที่ห้า.
พึงทราบวินิจฉัยในกิเลสเครื่องหน่วงเหนี่ยวทั้งหลาย. บทว่า กาเม
ได้แก่ วัตถุกามบ้าง กิเลสกามบ้าง. บทว่า กาเย ความว่า ในกายของตน.
บทว่า รูเป ความว่า ในรูปภายนอก. บทว่า ยาวทตฺถํ ความว่า มีประมาณ
เท่าที่ต้องการ. บทว่า อุทราวเทหกํ ได้แก่ เต็มท้อง. จริงอยู่ ท้องนั้น
เรียกว่า อุทราวเทหกํ เพราะไม่ย่อย. บทว่า เสยฺยสุขํ ความว่า ความ
สุขบนเตียงและบนตั่ง หรือความสุขในฤดู. บทว่า ปสฺสสุขํ ความว่า
ความสุขที่เกิดขึ้นเหมือนอย่างความสุขตะแคงขวาและตะแคงซ้ายของผู้นอนพลิก
ไปมาฉะนั้น. บทว่า มิทฺธสุขํ ได้แก่ ความสุขในการหลับ. บทว่า อนุยุตฺโต

ความว่า เป็นผู้ประกอบความเพียรอยู่. บทว่า ปณิธาย ความว่า ปรารถนา
แล้ว. จริงอยู่ จตุปาริสุทธสีล ชื่อว่า สีล ในบทเป็นต้นว่า สีเลน ดังนี้.
การสมาทานวัตร ชื่อว่า วตะ. การประพฤติดวามเพียรเครื่องเผากิเลส ชื่อว่า
ตบะ. การงดเว้นเมถุน ชื่อว่า พรหมจรรย์. บทว่า เทโว วา ภวิสฺสามิ
ความว่า เราจักเป็นเทพเจ้าผู้มเหศักดิ์. บทว่า เทวญฺญตโรวา ความว่า
หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่งในบรรดาเทพผู้มีศักดิ์น้อย. สมาธิที่ถึงแล้วเพราะ
อาศัยความพอใจในอิทธิบาททั้งหลาย ชื่อว่า ฉันทสมาธิ. สังขารทั้งหลายที่
เป็นปธาน ชื่อว่า ปธานสังขาร. บทว่า สมนฺนาคตํ ความว่า ประกอบ
ด้วยธรรมเหล่านั้น. บาทแห่งฤทธิ์ หรือบาทที่เป็นฤทธิ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า อิทธิบาท. ในบททั้งหลายแม้ที่เหลือ ก็มีนัยเช่นนั้นเทียว. ความสังเขป
ในพระสูตรนี้เพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดาร มาแล้วในอิทธิบาทวิภังค์นั้นแล.
ส่วนเนื้อความแห่งอิทธิบาทนั้นได้แสดงไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. ได้กล่าวการละ
ด้วยการข่มไว้ด้วยอิทธิบาท 4 นี้ ด้วยประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเพียรอันพึงกระทำในที่ทั้งปวงว่า
อุสฺโสฬฺหิ ในบทนี้ว่า อุสฺโสฬหิเยว ปญฺจมี ดังนี้. บทว่า อุสฺโสฬฺ-
หิปณฺณรสงฺคสมนฺนาคโต
ความว่า ผู้ประกอบด้วยองค์ 15 ประการ
พร้อมกับความเพียรอย่างนี้ คือ การละตะปูตรึงใจ 5 การละกิเลสเครื่องรึงรัด
จิต 5 อิทธิบาท 4 ความเพียร 1. บทว่า ภพฺโพ ความว่า อนุรูป คือ
สมควร. บทว่า อภินิพฺภิทาย ความว่า เพื่อทำลายกิเลสด้วยญาณ. บทว่า
สมฺโพธาย ความว่า เพื่อตรัสรู้ดีซึ่งมรรคสี่. บทว่า อนุตฺตรสฺส ความว่า
ประเสริฐที่สุด. บทว่า โยคกฺเขมสฺส ความว่า ความเกษมจากโยคะสี่ คือ
พระอรหัต. บทว่า อธิคมาย ความว่า เพื่อได้รับ. ศัพท์ว่า เสยฺยถา
เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเปรียบเทียบ. ศัพท์ว่า ปิ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า

ยกย่อง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใด ดังนี้
ด้วยบทแม้ทั้งสอง. ก็ในบทนี้ว่า ไข่ของแม่ไก่มี 8 ฟองบ้าง 10 ฟองบ้าง.
12 ฟองบ้าง ดังนี้ จะเป็นไข่ของแม่ไก่แม้น้อยกว่าหรือมากกว่าจากประการที่
กล่าวแล้วก็ตาม. แต่คำนั้นท่านกล่าวด้วยความสละสลวยแห่งถ้อยคำ. จริงอยู่
ถ้อยคำที่สละสลวยย่อมมีในโลกอย่างนี้. บทว่า ตานสฺสุ แยกบทเป็น ตานิ
อสฺสุ
ความว่า ไข่เหล่านั้นพึงมี. บทว่า กุกฺกุฎิยา สมฺมา อธิสยิตานิ
ความว่า เมื่อแม่ไก่นั้นป้องปีกทั้งสองกกไข่เหล่านั้น ไข่เหล่านั้นเป็นอันแม่ไก่
กกดีแล้ว. บทว่า สมฺมา ปริเสทิตานิ ความว่า อันแม่ไก่ให้อบอุ่นตลอด
กาลอันสมควร เป็นอันอบอุ่นด้วยดี คือ โดยชอบ ได้แก่กระทำให้มีไออุ่น.
บทว่า สมฺมา ปริภาวิตานิ ความว่า เป็นอันฟักด้วยดี คือโดยชอบตลอดกาล
อันสมควร อธิบายว่า ให้ได้รับกลิ่นของไก่. บทว่า กิญฺจาปิ ตสฺส กุกฺกุฏิยา
ความว่า แม่ไก่นั้นทำความไม่ประมาทด้วยการทำกิริยาสามอย่างนี้ ไม่พึงเกิด
ความปรารถนาอย่างนี้โดยแท้. บทว่า อถโข ภพฺพาว เต ความว่า ลูกไก่
เหล่านั้น ควรแท้เพื่อออกมาโดยสวัสดี โดยนัยที่กล่าวแล้ว. จริงอยู่ เพราะ
ไข่ทั้งหลายอันแม่ไก่นั้นเพียรฟักด้วยอาการ 3 อย่างนี้ ย่อมไม่เน่า ยางเหนียว
ของไข่เหล่านั้น ก็จะถึงความแก่ขึ้น เปลือกไข่ก็จะบาง ปลายเล็บเท้าและ
จะงอยปากก็จะแข็ง ไข่ทั้งหลายก็จะแก่รอบ แสงสว่างข้างนอกก็จะปรากฏข้างใน
เพราะเปลือกไข่บาง เพราะฉะนั้น ลูกไก่เหล่านั้นจึงใคร่จะออกด้วยคิดว่า เรา
งอปีกงอเท้าอยู่ในที่คับแคบ เป็นเวลานานแล้วหนอ และแสงสว่างภายนอกนี้
ก็ปรากฏ บัดนี้ พวกเราจักอยู่เป็นสุขในที่มีแสงสว่างนั้น ดังนี้ แล้วกะเทาะ-
เปลือกด้วยเท้า ยื่นคอออก แต่นั้น เปลือกนั้นก็จะแตกออกเป็นสองส่วน
ลำดับต่อมา ลูกไก่ทั้งหลาย ขยับปีก ร้อง ออกมาตามสมควรแก่ขณะนั้น
นั้นเทียว ครั้นออกมาแล้ว ก็จะเที่ยวหากิน ตามคามเขต. บทว่า เอวเมว โข

นี้ มีอรรถว่าเปรียบเทียบ นักปราชญ์เปรียบเทียบด้วยอรรถอย่างนี้แล้ว
พึงทราบ. ก็พึงทราบความที่ภิกษุนี้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยองค์ 15 รวมทั้ง
ความอุตสาหะเหมือนแม่ไก่นั้นทำกิริยา 3 อย่างในไข่ทั้งหลายฉะนั้น ความ
ไม่เสื่อมแห่งวิปัสสนาญาณ เพราะความถึงพร้อมด้วยอนุปัสสนา 3 อย่าง
ของภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 15 เหมือนความที่ไข่ทั้งหลายไม่เน่า
เพราะความถึงพร้อมด้วยกิริยา 3 อย่างของแม่ไก่ฉะนั้น การถือเอายาง
เหนียวคือความใคร่อันเป็นไปในภพ 3 ด้วยความถึงพร้อมด้วยอนุปัสสนา 3
อย่างของภิกษุนั้น เหมือนการแก่รอบแห่งยางเหนียวของไข่ทั้งหลาย ด้วยการ
กระทำกิริยา 3 อย่างของแม่ไก่ฉะนั้น ความที่เปลือกไข่คือ อวิชชา ของภิกษุ
เป็นธรรมชาติเบาบาง เหมือนความที่เปลือกไข่เป็นธรรมชาติบางฉะนั้น ความ
ที่วิปัสสนาญาณของภิกษุเป็นธรรมชาติคมแข็ง ผ่องใสและกล้า เหมือนความที่
ปลายเล็บเท้าและจะงอยปากของลูกไก่ทั้งหลายเป็นธรรมชาติกระด้างและแข็ง
ฉะนั้น กาลเปลี่ยนแปลง กาลอันเจริญแล้ว กาลแห่งการถือห้องแห่งวิปัสสนา
ญาณของภิกษุ เหมือนกาลแปรไปแห่งลูกไก่ทั้งหลายฉะนั้น กาลที่ภิกษุนั้นให้
ถือห้องคือวิปัสสนาญาณเที่ยวไปได้อุตุสัปปายะ โภชนสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ
หรือธรรมสวนสัปปายะ อันเกิดแต่วิปัสสนาญาณนั้น นั่งบนอาสนะเดียว
เจริญวิปัสสนา ทำลายเปลือกไข่คืออวิชชา ด้วยอรหัตมรรค ที่บรรลุแล้ว
โดยลำดับ ขยับปีกคืออภิญญาแล้ว บรรลุพระอรหัตโดยสวัสดี เหมือนกาล
ที่ลูกไก่ทั้งหลายกะเทาะเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากแล้ว
ขยับปีกทั้งหลายออกมาโดยความสวัสดีฉะนั้น. ก็ฝ่ายแม่ไก่รู้ความที่ลูกไก่ทั้ง
หลายแก่จัดแล้ว ทำลายเปลือกไข่ฉันใด แม้พระศาสดาก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ทรงรู้ความแก่งอมแห่งญาณของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ทรงแผ่โอภาสแล้ว
ทรงทำลายเปลือกไข่คืออวิชชาด้วยพระคาถามีอาทิว่า

บุคคลพึงตัดความรักของตน ดุจเด็ด
ดอกโกมุทในสารกาลด้วยมือ แล้วพอก
พูนเฉพาะทางสันติเท่านั้น พระนิพพาน
อันพระสุคต แสดงไว้แล้ว.

ภิกษุนั้นทำลายเปลือกไข่คืออวิชชาแล้ว บรรลุพระอรหัตในเวลาจบ
พระคาถา. จำเดิมแต่นั้น ลูกไก่เหล่านั้น ยังคามเขตให้งามเที่ยวไปในคาม
เขตนั้นฉันใด ภิกษุแม้นี้เป็นพระมหาขีณาสพบรรลุผลสมาบัติ อันมีนิพพาน
เป็นอารมณ์แล้ว ยังสังฆารามให้งามอยู่เที่ยวไปฉันนั้น. ท่านแสดงปหานะ 4
อย่าง ในพระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้. อย่างไร. ก็ท่านแสดงปฏิสังขาปหานะ
ด้วยการละตะปูตรึงใจทั้งหลาย ละกิเลศเครื่องรึงรัดใจทั้งหลาย แสดงวิขัมภน
ปหานะ ด้วยอิทธิบาททั้งหลาย แสดงสมุจเฉทปหานะ เมื่อมรรคมาแล้ว
แสดงปฏิปัสสัทธิปหานะ เมื่อผลมาแล้ว. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีเนื้อความ
ง่ายทั้งนั้นดังนี้.
จบอรรถกถาเจโตขีลสูตรที่ 6

7. วนปัตถสูตร


[234] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราจะแสดงวนปัตถปริยาย [เหตุของการอยู่ป่าชัฏ] แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้ง
หลายจงพึงปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้ว.
[235] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อ
เธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น
ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุ
ธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุด
หนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้
อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตที่
ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเรา
ไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัย
เครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช